วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
 วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
  • ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์บรรยายเรื่อง หลากหลายเทคนิคการจัดกิจกรรมและการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ ทั้ง 7 ด้าน ของเด็กปฐมวัย


  • ความหมาย สมรรถนะ (Competency) คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)                                                                                                                                  
  • ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
  • ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
4 ปี ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
  • ตัวอย่าง : ความทรงจำ
3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้นๆ ได้
4 ปี บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
5 ปี บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
  • ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3 ปี แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่นสวมรองเท้า ติดกระดุม
4 ปี แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
5 ปี แก้ปัญหาได้หลายวิธีและรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม
  • ความสำคัญ
ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน "คู่มือช่วยแนะแนว"
ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภดาพดียิ่งขึ้น
ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น
  • ข้อตกลงเบื้องต้น
เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจและไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตกสอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป
  • สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
  1. การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
  2. พัฒนาการด้านสังคม
  3. พัฒนาการด้านอารมณ์
  4. พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
  5. พัฒนาการด้านภาษา
  6. พัฒนาการด้านจริยธรรม
  7. พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์

                                               วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
  • ในการเรียนการสอนวันนี้ อันดับแรกก่อนจะเริ่มเรียนอาจารย์ให้ฝึกสมาธิ โดยทำท่าการฝึกสมาธิตามอาจารย์ เป็นการกระตุ้นสมองให้ผ่อนคลายและมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น


  • กิจกรรมต่อมา อาจารย์สอนท่าทางการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน





  • และกิจกรรมสุดท้าย อาจารย์สอนการเคลื่อนไหวแบบฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
  • นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
 วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
  • ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอนักทฤษฎีการเคลื่อนไหวทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
  • กลุ่มที่หนึ่ง ด้านสังคม นักทฤษฎีคือ แบนดูร่า , อิริคสัน
  • ทฤษฎีของอิริคสัน อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญ ของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม                                                                                                อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง 
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความ คิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆจะสนุกจากการ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงเช่นอาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ขับรถยนต์ เหมือนผู้ใหญ่ 
***สามขั้นแรกเป็นขั้นพัฒนาการที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย***
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง 
ทฤษฎีของอิริสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้                     
  • ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ 
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process) 
         กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ ควรเป็นพฤติกรรมง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ง่ายต่อการเอาใจใส่ของเด็กที่เกิดการเลียนแบบและเกิดการเรียนรู้
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process) 
           คือ กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความจำ ทั้งนี้ เด็กดึงข้อมูลที่ได้จากตัวแบบออกมาใช้กระทำตามโอกาสที่เหมาะสม เด็กที่มีอายุมากกว่าจะเรียนรู้จากการสังเกตการณ์กระทำที่ฉลาดของบุคคลอื่น ๆ ได้มากกว่า โดยประมวลไว้ในลักษณะของภาพพจน์ และในลักษณะของภาษา และเด็กโตขึ้นนำประสบการณ์และสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมโยงและต่อมาจะใช้การเรียนรู้มีเทคนิคที่นำมาช่วยเหลือความจำ คือ การท่องจำ การทบทวน หรือการฝึกหัด และการรวบรวมสิ่งที่เกี่ยวพันกันในเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยให้เขาได้เก็บสะสมความรู้ไว้ในระดับซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
3.กระบวนการแสดงออก
           คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่างๆ
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process) 
          คือ กระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง โดยเด็กเกิดการเรียนรู้จากการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง จากการเลียนแบบตัวแบบที่มาจากบุคคลที่เป็นเพศเดียวกับเด็กมากกว่าจะเป็นเพศตรงข้ามกัน จากการเลียนแบบตัวแบบที่เป็นรางวัล เช่น เงิน ชื่อเสียง สถานภาพทางเศรษฐกิจสูง จากพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกลงโทษ มีแนวโน้มที่จะไม่ถูกนำมาเลียนแบบ และจากการที่เด็กได้รับอิทธิพลจากตัวแบบที่มีความคล้ายคลึงกับเด็ก ได้แก่ อายุ หรือสถานภาพทางสังคม
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร                                                     คือ เมื่อเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นในทีวี ในบ้าน หรือว่านอกบ้าน สิ่งต่างที่เด็กเห็นนั้นล้วนมีการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางต่างๆ แล้วเมื่อเด็กจะสังเกตุ สมองของเด็กจะมีการจดจำในสิ่งพวกนั้น แล้วนำมาทำตามหรือเรียกว่า "เลียนแบบ“ จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ













วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
  • วันนี้ในช่วงแรกอาจารย์ให้ดูคลิปวิดีโอ " เสียตัว เสียใจ " เป็นข้อคิดให้กับนักศึกษาได้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยต่อไป


  • ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละ 1 ท่า พร้อมทั้งให้เพื่อนๆ ทำตามท่าของตนเอง 





  • อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4-5 คน คิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ กลุ่มละ 10 ท่า ห้ามซ้ำกัน พร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วย










การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
  • นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น







การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
    
                                             วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
              ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์สอนทฤษฎีเกี่ยวกับ กิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ



 ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น 
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

การเคลื่อนไหวเบื้องต้น

  • เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหารหรือการกระโดดของกบ การควบม้า 
  • เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเล่นเกมประกอบเพลง
  • การเล่นเกมต่างๆ ของไทย
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเต้นรำพื้นเมือง
เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
  • เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิดและสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
  • การเดิน
  • การวิ่ง
  • การกระโดดเขย่ง
  • การกระโจน
  • การโดดสลับเท้า
  • การสไลด์
  • การควบม้า
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
  1. การเคลื่อนไหวแบบยืนอยู่กับที่
  2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่จากที่เดิม
  3. การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์หรือวัตถุ
การรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง 
บริเวณและเนื้อที่
  • การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตลอดเวลา
ระดับการเคลื่อนไหว
  • ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมและท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น
ทิศทางของการเคลื่อนไหว
  • การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ
การฝึกจังหวะ การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
  1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
  • ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
  • ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง 
  • สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
  • ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
แนวทางการประเมิน
  • สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  • สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  • สังเกตการแสดงออก
  • สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม 







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สับสน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ อธิบายหรือยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559
งดการเรียนการสอน